วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การสร้างเว็บไซต์ เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(Hardware) ผ่าน Blogger

1.  ความสําคัญของคอมพิวเตอร์
               การดําเนินชีวิตในยุคปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ของเราในหลายรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ถ้าคุณกําลังดูทีวีอยู่หรือคุณกําลังรอรับใบเสร็จจากห้างร้าน คุณก็เข้าไปเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยที่คุณไม่รู้ตัว หรือแม้แต่คุณ กําลังรอสัญญาณไฟเขียวอยู่ตรงสี่แยก สัญญาณไฟก็ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ เช่นกัน กิจกรรม ต่าง ๆ นี้ต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยแทบทั้งสิ้น ปัจจุบันพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทําให้มีขนาดและราคาลดลง ในขณะที่ประสิทธิภาพการทํางานเพิ่มขึ้น ทําให้มีการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง หรือแม้กระทั่งการนําคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อการพักผ่อน เพื่อการบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่งเพราะจะทําให้เรา สามารถที่จะคัดเลือกคอมพิวเตอร์ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.  ข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

               2.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์ เมื่อพิจารณาศัพท์คําว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคําภาษาอังกฤษ จะหมายถึง เครื่องคํานวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคํานวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คํานวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจําตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน
               ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึง เครื่อง คํานวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทํางานคํานวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคําสั่งด้วยความเร็วสูง อย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คําจํากัดความของ คอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์                 
                2.2 ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์
                คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ ในการคํานวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคํานวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคํานวณค่าของตรีโกณมิติฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทํางาน ของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคํานวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบ พลังเครื่องยนต์ไอนํ้าหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คํานวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูล ในหน่วยความจํา ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นํามาพัฒนา สร้างเครื่องคอมพิ วเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเค รื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทําให้เป็นการ เริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุคได้แก่
ยุคที่ 1 ยุคของหลอดสุญญากาศ
ยุคที่ 2 ยุคของทรานซีสเตอร์
ยุคที่ 3 ยุคของวงจรไอซี (IC หรือ Integrated Circuits)
ยุคที่ 4 ยุคของวิแอลเอสไอ
ยุคที่ 5 ยุคเครือข่าย (ยุคปัจจุบัน)
                  ยุคที่1   เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer)ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
                 ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง   ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน


                    ยุคที่ 2  มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
                      -ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
                     -เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
                     -มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
                     -สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
                     -เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้    เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง
                                                           


                        ยุคที่ 3 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
                      นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Sy) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing) stems : DBMS
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
                    -ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
                    -ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
                    -ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
                               


                     ยุคที่ 4 เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้น
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
                     -ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
                     -มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS) มาในยุคนี้ 
                                                             


                       ยุคที่ 5 ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
                       โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
                       1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)   คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
                       2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)   คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิด
                       3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)    คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

                       4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)   คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น เลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock)เป็นต้น

                                   

   3. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)
               คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย หรือที่เราเรียกว่า อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น หน่วยรับข้อมูล (input), หน่วยแสดงข้อมูล (output), หน่วยประมวลผล (processing unit), หน่วยความจํา (memory unit/storage unit) และอุปกรณ์อื่นๆ
               3.1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)


รูป ที่ 3.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

                         หมายถึงโครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอคอมพิวเตอร์ และตัวเครื่อง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ช่วยเสริมให้คอมพิวเตอร์ทํางานได้กว้าง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องดิจิไตส์เซอร์ ชุดมัลติมีเดีย อุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ดังนั้น ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งตามหน้าที่การทํางานของเครื่องได้ดังนี้ 
                  3.1.1) หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทําหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone),ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)

รูปที่ 3.1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input unit)

          3.1.2) หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทําหน้าที่ในการประมวลผล ภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Control Unit : CU) ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานส่วนต่างๆ ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคํานวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคํานวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทาง คณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ ได้จากการ ประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วย ประมวลผลเพียงชุดเดียว ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมซึ่งมี ความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทํางานของโปรแกรมพร้อมกัน หลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทําให้เครื่องประมวลผล หยุดการทํางานในขณะที่มีการประมวลผลหนักๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล 2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผล สามารถทํางานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสํารองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทํางานอีกตัว หนึ่งจะทํางานแทนโดยอัตโนมัติ
รูปที่ 3.1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Processor)

            3.1.3 ) หน่วยความจําหลัก (Main Memory) เราสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานได้โดย อัตโนมัติโดยอาศัยชุดคําสั่งที่ป้อนสู่ระบบคอมพิวเตอร์จะเก็บคําสั่งเหล่านั้นไว้ในหน่วยความจํา หลักเพื่อทํางานตามชุดคําสั่ง หน่วยความจําหลักประกอบด้วย หน่วยความจําแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM) ทําหน้าที่ในการเก็บชุดคํา สั่งควบคุมการรับส่งข้อมูลพื้นฐาน คือ BIOS ซึ่งจะถูกกําหนดมาจากโรงงานผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยความจําส่วนนี้จะเก็บข้อมูลไว้ ตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง อีกประเภทหนึ่งเรียกว่า หน่วยความจําแบบชั่วคราว (Random Access Memory : RAM)หน่วยความจําส่วนนี้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ตลอดเวลา เป็นส่วน ที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล หลังจากคอมพิวเตอร์ทํา การประมวลผลแล้วจะส่งข้อมูลกลับมาที่หน่วยความจํา ทําให้หน่วยความจํามีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายข้อมูลเป็นจํานวนมาก เปรียบเสมือนหน่วยรับฝากข้อมูลแบบชั่ วคราว ซึ่งจะถูกแทนที่ ด้วยข้อมูลใหม่เสมอ ถ้าปิดเครื่องข้อมูลในหน่วยความจําส่วนนี้จะหายไปหมด คอมพิวเตอร์ที่ใช้ใน การประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ในปัจจุบันควรจะเลือกใช้ RAM ชนิด ที่มี Parity SDRAM PC100 โดยมี RAM ไม่ตํ่ากว่า 128 MB เนื่องจากข้อมูลดาวเทียมมีความละเอี ยดและความซับซ้อนในการ ประมวลผลหลายขั้นตอน กอปรกับโปรแกรมประมวลผลข้อมูลดาวเทียมมีขนาดใหญ่ และมีการต่อ พ่วงอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเทปอ่านข้อมูล สําหรับอ่านข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจํา จึงทําให้ ความต้องการหน่วยความจําหลักมีมากขึ้นและการประมวลผลแต่ละครั้งจะมีการใช้หน่วยความจํา จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว


รูปที่ 3.1.3 หน่วยความจําหลัก (Main Memory)

              3.1.4) หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit) เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนํา ข้อมูลกลับประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ใน หน่วยความจําหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทําหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/output Device) อุปกรณ์ที่จําเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
(1) ฮาร์ดดิสต์ (Hard Disk ) แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง (Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิต ฮาร์ดดิสต์วามจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐาน การเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมี ประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใช้ในงาน ประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจํานวนมาก ฮาร์ดดิสต์ที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quantum
(2) เทปคาร์ทริดจ (Cartridge Tape) เทปคาร์ทริดจ์มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึก ข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป สูงถึง 14 กิกะไบต์มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ท เป็นม้วนยาว 112 m ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลที่มีจํานวน มาก เช่น การสํารองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม
 (3) เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูล ประเภท CD, DVD ใช้ลําแสงเลเซอร์ในการอ่าน และเขียนข้อมูลมีทั้งชนิดอ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเรียก ว่า Compact Disk Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video disc/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและอ่านและ
เขียนได้เรียกว่า CD-R, DVD-Rปกติแล้วการบันทึกข้อมูลลงซีดีจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แต่มี เครื่องบันทึกซีดีที่ออกมารองรับการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD - RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้
(4) Floppy Disk แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester เป็น Mylar บางๆ บรรจุในซองพลาสติก มีขนาด 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44MB


รูปที่ 3.1.4 หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit)
  
            5) หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทําหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการ ประมวลผล เป็นส่วนที่เชื่อมความสัมพันธ์และโต้ตอบระว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลที่ เห็นได้ชัดเจนได้แก่ จอคอมพิวเตอร์ ให้ความละเอียดของการแสดงผลได้ดีกว่าการแสดงผ ลออก ทางสิ่งพิมพ์แต่เราไม่สามารถจับต้องได้เราเรียกว่า Softcopy ส่วนการแสดงผลออกทางสื่อสิ่งพิมพ์ เรียกว่า Hardcopyเช่น แผนที่ แผนภูมิต่างๆ จัดพิมพ์ในรูปกระดาษ หรือแผ่นฟิล์ม
 (1) จอคอมพิวเตอร์ จอคอมพิวเตอร์สําหรับงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมค วรใช้ จอขนาดใหญ่ 20 นิ้วขึ้นไป หรือไม่ควรตํ่ากว่า 17 นิ้ว มีหลอดภาพชนิด Trinitron ซึ่งให้ความคมชัด ของภาพได้ดี และความละเอียดในการแสดงผล 1600x1200 จุด ทําให้สามารถแสดงผลภาพได้ดี
 2) เครื่องพิมพ์เครื่องพิมพ์ที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลดาวเทียมมีด้วยกันหลาย ประเภท แต่ที่นิยมใช้กัน คือ เครื่องพิมพ์ชนิด Laser เครื่องพิมพ์ชนิด Ink Jet ซึ่งให้ความละเอียดใน การพิมพ์สูงกว่า และพิมพ์ได้รวดเร็วกว่าเครื่องพิมพ์ชนิด Dot matrix

รูปที่ 3.1.5 หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)

 4. เว็บไซต์ (Website)
          4.1 ความหมายของเว็บไซต์ (Website)
เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคําว่า เว็บไซต์จะใช้สําหรับ ผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้นโฮมเพจ (Home Page)     
                                        
              โฮมเพจ คือคําที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ซึ่งประกอบไปด้วยเมนูต่างๆและ เรื่องราวต่างๆมากมายคล้ายกับหน้าปกนิตย สารบ้านเรา ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้ สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของ เราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย เว็บเพจ (Web Page)

                เว็บเพจ คือ คําที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจ ก็ได้
              เว็บไซต์ (Web Site) คือ คําที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะ ประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ ) โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อ เว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่น http://www.geocities.com ,http://www.sanook.com, http://www.yahoo.com เป็นต้น สรุป เว็บไซต์คือ ชื่อเรียกหรือที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ให้บริการเว็บเพจ คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน
         4.2 ประเภทของเว็บไซต์(Website)
เว็บไซต์สามารถแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 8 ประเภทตามลักษณะของเนื้อหา และรูปแบบของเว็บไซต์กลุ่มเว็บทั้ง 8 ประเภท
           1) เว็บท่า (Portal site)  เว็บท่านั้นอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเว็บวาไรตี้ (variety web) ซึ่งหมายถึงเว็บที่ให้บริการต่างๆ ไว้มากมาย มักประกอบไปด้วยบริการเครื่องมือค้นหา ที่ รวบรวมลิงค์ของเว็บไซต์ที่น่าสนใจไว้มากมายให้ได้ค้นหา รวมถึงบริการที่เกี่ยวกับเรื่องราวที่มี สาระและบันเทิงหลากหลายประเภท เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ดูดวง ท่องเที่ยว ITเกม สุขภาพ หรืออื่นๆ
             2) เว็บข่าว (News site)เว็บข่าวมักเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยองค์กรข่าวหรือ สถาบันสื่อสารมวลชนต่างๆ ที่มีสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ของตนอยู่เป็นหลัก เช่น สถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุ หนังสือพิมพ์นิตยสาร วารสาร หรือแม้กระทั่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
                     3) เว็บข้อมูล (Information site) เว็บข้อมูลนั้นเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับการ สืบค้นข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ตนเองขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนหรือกลุ่ม บุคคลที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กรของตนได้อีกทั้งยังเป็นการ สร้าง โอกาสในการประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดแก่ประชาชนในสังคมอีกด้วย          
                4) เว็บธุรกิจหรือการตลาด (Business/ Marketing site) เว็บธุรกิจหรือการตลาด เป็นเว็บไซต์ที่มักสร้างขึ้นโดยองค์กรธุรกิจต่างๆ มีจุดมุ่งหมายหลักในการประชาสัมพันธ์องค์กร และเพิ่มผลกําไรทางการค้า
โดยเนื้อหาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเป็นการนําเสนอที่มีความ น่าสนใจและตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อผลกําไรทางธุรกิจนั่นเอง
          5) เว็บการศึกษา (Education site) เว็บการศึกษามักเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดย สถาบันการศึกษาต่างๆ หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายในการเผยแพร่ความรู้ และให้ โอกาสในการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไป เว็บ
การศึกษาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งแบบ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เว็บที่เกี่ยวกับ การศึกษาโดยตรงนั้น ได้แก่เว็บของสถาบันการศึกษา ห้องสมุด และเว็บที่ให้บริการการเรียนรู้แบบ ออนไลน์ที่เรียกว่า อี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) นอกจากนี้แล้วยังรวมถึงเว็บที่สอนหรือให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น การทําเว็บ การทําอาหาร การถ่ายภาพ การเขียนโปรแกรม ฯลฯ
              6) เว็บบันเทิง (Entertainment site) เว็บบันเทิงนั้นมุ่งเสนอและให้บริการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความบันเทิง โดยทั่วไปอาจนําเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการบันเทิงทั่วไป เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ ดารา กีฬา ความรั ก บทกลอน การ์ตูน เรื่องขําขัน รวมถึงการให้บริการดาวน์โหลด โลโก้และริงโทนสําหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่อีกด้วย เว็บประเภทนี้อาจมีรูปแบบที่เป็นอินเตอร์แอค ทีฟที่ตื่นตาตื่นใจ หรือใช้เทคโนโลยีมัลติมิเดียได้มากกว่าเว็บประเภทอื่น
              7) เว็บองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร (None-profit organization site) เว็บประเภท นี้มักจะเป็นเว็บที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ที่มีนโยบายในการสร้างสรรค์ที่ ช่วยเหลือสังคมโดยที่ไม่หวังผลกําไรหรือค่าตอบแทน ซึ่งกลุ่มบุคคลหรือองค์กรเหล่านี้ได้แก่ สมาคม ชมรม มูลนิธิ และโครงการต่างๆ โดยอาจมีจุดประสงค์เฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อทํา ความดี สร้างสรรค์สังคม พิทักษ์สิ่งแวดล้อม ปกป้องสิทธิมนุษยชน รณรงค์ไม่ให้สูบบุหรี่ หรืออาจ รวมตัวกันเพื่อดูแลผลประโยชน์ของสมาชิกในกลุ่ม
              8) เว็บส่วนตัว (personal site) เว็บส่วนตัวอาจเป็นเว็บของคนๆ เดียว เพื่อนฝูง หรือครอบครัวก็ได้โดยอาจจัดทําขึ้นด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน เช่น แนะนํากลุ่มเพื่อน โชว์รูปภาพ แสดงความคิดเห็น เขียนไดอารี่ประจําวัน นําเสนอผลงาน ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ เชี่ยวชาญหรือสนใจ โดยทั้งหมดนี้อาจทําเป็นเว็บไซต์หรือเป็นเพียงเว็บเพจหน้าเดียวก็ได้



รูปที่ 4 เว็บไซต์ (Website)
5. ทฤษฎีบท เกี่ยวกับการสร้างบล็อกเกอร์

         จากการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างBlogger ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะทำเว็บไซต์เพื่อการศึกษา เรื่อง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) ผ่านBlogger   ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษามาประยุกต์ใช้ร่วมกันกับระบบเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก เห็นด้วยที่ผู้สนใจหลายๆด้าน สามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเรียนรู้เร็วหรือเรียนรู้ช้าสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้เหมือนกัน     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น