วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หน่วยประมวลผลกลาง (Processor)

               หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) เป็นชิปเซตที่ทําหน้าที่ในการประมวลผล ภายใน ซึ่งประกอบด้วย ส่วนควบคุม (Control Unit : CU) ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานส่วนต่าง ๆ ของระบบโดยส่งสัญญาณควบคุมผ่านระบบบัส (Bus) ส่วนคํานวณและเปรียบเทียบ (Arithmetic and Logic Unit : ALU) มีหน้าที่หลักคือ การคํานวณและและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยหลักการทาง คณิตศาสตร์ และ ตรรกศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และการตรวจสอบเงื่อนไข เก็บข้อมูลที่ ได้จากการ ประมวลไว้ในส่วนที่เรียกว่า Register ปกติแล้วคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วย ประมวลผลเพียงชุดเดียว ในกรณีของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียม ซึ่งมีความละเอียดของข้อมูลสูง มีการประมวลผลตลอดเวลา และมีการทํางานของโปรแกรมพร้อมกัน หลายโปรแกรม หน่วยประมวลผลเพียงชุดเดียวจึงอาจไม่เพียงพอ เพราะจะทําให้เครื่องประมวลผล หยุดการทํางานในขณะที่มีการประมวลผลหนัก ๆ การเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบมีหน่วยประมวลผล 2 ชุด (two-processor) เป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้การประมวลผลมีเสถียรภาพ โดยหน่วยประมวลผล สามารถทํางานในเวลาเดียวกันเป็นตัวสํารองซึ่งกันและกันเมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งหยุดทํางานอีกตัว หนึ่งจะทํางานแทนโดยอัตโนมัติ





ตำแหน่งของหน่วยประมวลผล

               ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนเข้าใจผิด และเรียกเคสคอมพิวเตอร์ทั้งเคสว่าซีพียู ซึ่งอันที่จริงแล้ว ซีพียูเป็นชิปตัวเล็ก ๆ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีขาจำนวนมาก ให้ลองสังเกตในเมนบอร์ด บริเวณตรงจุดที่มีพัดลม และแผ่นโลหะระบายความร้อน หรือ ฮีตซิงค์ ติดทับอยู่นั่นคือ ตำแหน่งของ “CPU” กล่าวคือ เมื่อเปิดฝาเคส จะเห็นว่าอุปกรณ์หลัก ๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรหลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ดซีพียูจะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ ซีพียู จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัวซีพียู จะมีเหล็กแหลม ๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของซีพียู ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น