หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit)
เป็นสื่อในการเก็บข้อมูล และสามารถนํา ข้อมูลกลับประมวลผลใหม่ และบันทึกข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วเก็บอยู่ใน หน่วยความจําหลัก ถ้าปิดเครื่องข้อมูลเหล่านั้นจะหายไป จึงควรมีการบันทึกข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ อุปกรณ์ส่วนนี้ทําหน้าที่เป็นทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลข้อมูล (Input/output Device) อุปกรณ์ที่จําเป็นในระบบงานประมวลผลข้อมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้แก่
(1) ฮาร์ดดิสต์ (Hard Disk ) แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง (Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk)ปัจจุบันได้มีการผลิต ฮาร์ดดิสต์วามจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐาน การเชื่อมต่อ IDE SCSI และUSB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมี ประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใช้ในงาน ประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจํานวนมาก ฮาร์ดดิสต์ที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quantum
(2) เทปคาร์ทริดจ (Cartridge Tape) เทปคาร์ทริดจ์มีจุดเด่นตรงสามารถบันทึก ข้อมูลซํ้าได้หลายครั้ง และมีความจุสูงถึงระดับกิกะไบต์คือ ตั้งแต่ 1 กิกะไบต์ขึ้นไป สูงถึง 14 กิกะไบต์มีลักษณะเทปคล้ายเทปคาสเซ็ท เป็นม้วนยาว 112 m ใช้สําหรับบันทึกข้อมูลที่มีจํานวน มาก เช่น การสํารองข้อมูลขององค์กรขนาดใหญ่ ใช้เป็นสื่อกลางในการบันทึกข้อมูลดาวเทียม
(3) เครื่องอ่านและบันทึกข้อมูล ประเภท CD, DVD ใช้ลําแสงเลเซอร์ในการอ่าน และเขียนข้อมูลมีทั้งชนิดอ่านได้อย่างเดียว ซึ่งเรียก ว่า Compact Disk Read Only Memory (CD-ROM) Digital Video disc/Digital Versatile Disc (DVD) และชนิดที่สามารถอ่านและอ่านและ
เขียนได้เรียกว่า CD-R, DVD-Rปกติแล้วการบันทึกข้อมูลลงซีดีจะบันทึกได้เพียงครั้งเดียว แต่มี เครื่องบันทึกซีดีที่ออกมารองรับการบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง เรียกว่า CD - RW, DVD-RW สามารถลบข้อมูลในแผ่นและบันทึกใหม่ได้
(4) Floppy Disk แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน เคลือบด้วยสาร Polyester เป็น Mylar บางๆ บรรจุในซองพลาสติก มีขนาด 3.5 นิ้ว ความจุ 1.44MB
หน่วยบันทึกข้อมูล (Data Entry Unit)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น